Last updated: 28 มี.ค. 2567 |
ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยมักพบได้ในวัยสูงอายุ ซึ่งมวลกล้ามเนื้อจะลดลงอย่างต่อเนื่องเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้มวลไขมันเพิ่มมากขึ้นและเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินได้อีกด้วย1 อย่างไรก็ดีการป้องกันหรือชะลอการสูญเสียกล้ามเนื้อจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถทำได้
ปัจจัยและสาเหตุของการเกิดภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย2, 3
อายุที่เพิ่มมากขึ้น
โดยทั่วไปแล้วหลังจากอายุ 30 ปี มวลกล้ามเนื้อจะลดลงเฉลี่ยร้อยละ 3-8 ในช่วงระยะเวลา 10 ปี และอัตราการลดลงนี้จะสูงขึ้นหลังจากอายุ 60 ปี
ขาดสารอาหาร
การรับประทานอาหารและความอยากอาหารที่ลดน้อยลง รวมทั้งการหลุดร่วงของฟันก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่สำคัญส่งผลให้ผู้สูงอายุได้รับสารอาหารลดลง
ปัญหาที่มักพบของภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย3
การป้องกันภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย
การรับประทานโปรตีน เนื่องจากมีลิวซีนซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่จำเป็นในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ จึงควรรับประทานอย่างเพียงพอเพื่อป้องกันการเสื่อมสลายและเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ4 ปริมาณโปรตีนที่แนะนำต่อวันคือร้อยละ 10-35 ของพลังงานทั้งหมด หรือประมาณ 0.8 กรัม/กิโลกรัม/วัน หรือโดยเฉลี่ย 56 กรัมต่อวันสำหรับผู้ชายและ 46 กรัมต่อวันสำหรับผู้หญิง5
การออกกำลังกาย มีการศึกษาพบว่าการออกกำลังกายแบบแอโรบิค เช่น วิ่ง ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน ร่วมกับการรับประทานโปรตีนอย่างเพียงพอช่วยให้สามารถซ่อมแซมและเสริมสร้างกล้ามเนื้อได้ดี6
โปรตีนจากพืช
ทางเลือกหนึ่งของการเสริมโปรตีนสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมอาหารและจำกัดไขมันคงหนีไม่พ้นโปรตีนจากพืช ในปัจจุบันโปรตีนรูปแบบผงได้รับความนิยมในกลุ่มผู้ใส่ใจดูแลสุขภาพมากขึ้น เนื่องจากใช้วัตถุดิบจากถั่วลันเตาซึ่งเป็นพืชที่ให้โปรตีนสูง ไขมันต่ำ จึงไม่ส่งผลต่อระดับไขมันในเลือด
การเสริมสร้างมวลกล้ามเนื้อไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกายหรือการปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหารล้วนเป็นสิ่งที่สามารถทำได้เองเพื่อป้องกันหรือชะลอภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยในผู้สูงวัย หากคุณยังไม่ได้เริ่ม ยังไม่สายถ้าเราจะเริ่มเลือกสิ่งที่ดีให้ร่างกายตั้งแต่วันนี้
สั่งซื้อสินค้า คลิกเลย
เอกสารอ้างอิง
27 มี.ค. 2567
28 ต.ค. 2567
30 ก.ย. 2567
7 ส.ค. 2567