Last updated: 11 มี.ค. 2567 |
ฝักอวบเต่งสีเขียวอ่อนที่มีงาดำเมล็ดจิ๋วนอนเรียงตัวกันอย่างสงบนิ่ง ภายในเมล็ดงาเล็ก ๆ เหล่านี้แฝงไปด้วยคุณประโยชน์และสารอาหารมากมาย เหมือนเป็นของขวัญจากธรรมชาติ ซึ่งมนุษย์รู้จักการนำงาดำมาใช้ประโยชน์ ทั้งด้านโภชนาการและด้านความงามมาตั้งแต่หลายพันปีก่อน
ซองเดอร์เองก็เป็นบุคคลที่มองเห็นถึงความสำคัญของธัญพืชเมล็ดจิ๋ว จึงได้คัดสรรงาดำจากแหล่งปลูกที่ดีที่สุดของประเทศไทย ซึ่งเติบโตบนผืนดินบริสุทธิ์ตามแนวทางเกษตรอินทรีย์ เพื่อนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภัย จากการที่ต้องเห็นบุคคลอันเป็นที่รักประสบกับโรคภัยที่เกิดจากการรับประทานอาหารที่มีสารพิษเจือปน ซองเดอร์จึงได้สร้างเมล็ดพันธุ์แห่งความรัก เพื่อส่งต่อไปยังผู้บริโภคด้วยความห่วงใยอย่างเต็มเปี่ยม
เมื่อเก็บเกี่ยวเมล็ดงาที่สมบูรณ์แล้ว ซองเดอร์จะนำเมล็ดงามาผ่านกระบวนการคั่วจนสุก และบดด้วยกรรมวิธีที่เป็นเคล็ดลับเฉพาะ เพื่อรักษาน้ำมันงาไว้ในเมล็ดให้ได้มากที่สุด จึงสังเกตได้ว่างาดำคั่วบดซองเดอร์จะไม่ได้มีลักษณะเป็นผงแห้ง ๆ เพราะยังคงมีน้ำมันเหลืออยู่ และน้ำมันนี่เองที่กักเก็บคุณประโยชน์อย่างมากล้นเอาไว้
จุดเริ่มต้นที่ซองเดอร์ได้นำงาดำมาสร้างผลิตภัณฑ์ นอกจากการสร้างสรรค์อาหารที่ปลอดภัยเพื่อให้ผู้บริโภคแล้ว ซองเดอร์ยังมีส่วนในการช่วยเหลือชุมชน สร้างงาน สร้างอาชีพให้เกษตรกรท้องถิ่น ตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนอีกด้วย
เคล็ดลับการทานงาดำให้ได้ประโยชน์สูงสุด
องค์ประกอบสำคัญ 50-60% ในเมล็ดงา คือ “น้ำมัน” ที่อุดมไปด้วยกรดไขมัน โอเมก้า วิตามิน และแร่ธาตุหลากหลายชนิด เพราะฉะนั้นการรับประทานงาดำให้ได้ประโยชน์ที่สุด คือ “การเคี้ยว” เพื่อให้เมล็ดงาแตกออกจนสัมผัสได้ถึงกลิ่นหอมและน้ำมันงาตามธรรมชาติที่จะออกมาคลุกเคล้ากับอาหารเพื่อเพิ่มความหอม เพิ่มรสสัมผัสบนทุกความอร่อยของคุณ อีกทั้งยังเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการในมื้ออาหารอีกด้วย
ประโยชน์ของงาดำ
** เป็นการเปรียบเทียบปริมาณแคลเซียมที่พบในนมวัว 220 มิลลิลิตร กับงาดำบด 2 ช้อนโต๊ะ 15 กรัม
ใครจะคาดคิดว่า งาดำเพียงเมล็ดเดียว จะเติบโตและส่งต่อความรัก ความห่วงใย และสุขภาพที่ยั่งยืนไปสู่ผู้คนอีกเป็นจำนวนมาก ด้วยประโยชน์ที่มากล้นของงาดำ ทำให้งาดำเป็นส่วนประกอบสำคัญของอาหารส่งเสริมสุขภาพที่เหมาะกับบุคคลหลายประเภท ทั้งบุคคลทั่วไป บุคคลที่ต้องการฟื้นฟูร่างกาย ผู้สูงอายุ และบุคคลอื่นๆ
สนใจสั่งซื้อสินค้า คลิกเลย
อ้างอิง
7 ส.ค. 2567
9 ก.พ. 2565
30 ก.ย. 2567
28 ต.ค. 2567